คุณชอบเว็บนี้มากเเค่ไหน

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"มัทนะพาธา" ตำนานรักดอกกุหลาบ

                                                                                             
                                                                                                               

มัทนะพาธา


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า)
มัทนะพาธาหรือตำนานแห่งดอกกุหลาบเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว(พ.ศ. 2424 - 2468) เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริให้ใช้คำฉันท์เป็นละครพูดอันเป็นของแปลกในกระบวนวรรณคดีและแต่งได้โดยยาก



มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก
                                   มัทนะพาธาจึงมีความหมายว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก 




ความเป็นมา           
           มัทนะพาธาเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นหนังสือที่แต่งดี ใช้ฉันท์เป็นบทละครพูดซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก เป็นเรื่ิองที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกัน วัฒนธรรมภารตะโบราณและเข้ากับเนื้อเรื่องได้ดี

ลักษณะการแต่ง
           และตอนใดที่เน้น เรื่องมัทนะพาธาใช้คำประพันธ์หลายชนิดแต่เน้นแต่งด้วยฉันท์ บางตอนใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์ และมีบทเจรจาร้อยแก้วในส่วนของตัวละครที่ไม่สำคัญ ทำให้มีลีลาภาษาที่หลากหลาย ตอนใดดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดต้องการจังหวะเสียงและความคล้องจองก็ใช้กาพย์ อารมณ์มากก็มักใช้ฉันท์ เช่น ตอนที่สุเทษณ์ตัดพ้อและมัทนาเจรจาตอบใช้วสันตดิลก แสดงจังหวะรวดเร็วของถ้อยคำเสริมให้คารมโต้ตอบกันมีลีลาฉับไวและทันกัน

เรื่องย่อ        
            มัทนะพาธาเป็นเรื่องสมมุติว่าเกิดในอินเดียโบราณ เนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์บนสวรรค์ เทพบุตรสุเทษณ์หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่ปลงใจด้วย สุเทษณ์จึงขอให้วิทยาธรมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา มัทนาเจรจาตอบสุเทษณ์อย่างคนไม่รู้สึกตัว สุเทษณ์จึงไม่โปรด เมื่อขอให้มายาวินคลายมนตร์ มัทนาก็รู้สึกตัวและตอบปฏิเสธสุเทษณ์ สุเทษณ์โกรธ จึงสาปให้เธอจุติไปเกิดบนโลกมนุษย์ มัทนาขอไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ สุเทษณ์กำหนดว่า ให้ดอกกุหลาบดอกนั้นกลายเป็นมนุษย์เฉพาะวันเพ็ญเพียงวันและคืนเดียว ต่อเมื่อมีความรักจึงจะพ้นสภาพจากเป็นดอกไม้ และหากเป็นความทุกข์เพราะความรักก็ให้วิงวอนต่อพระองค์ พระองค์จะช่วย
           ณ  กลางป่าหิมะวัน ฤษีกาละทรรศินพบ ต้นกุหลาบจึงขุดไปปลูกไว้ที่อาศรม เมื่อมัทนากลายเป็นมนุษย์ก็เลี้ยงดูรักใคร่เหมือนลูก ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งเมืองหัสตินาปุระเสด็จไปล่าสัตว์ ได้พบนางมัทนาก็เกิดความรัก มัทนาก็มีใจเสน่หาต่อชัยเสนด้วยเช่นกัน ทั้งสองจึงสาบานรักต่อกัน และมัทนาไม่ต้องกลับไปเป็นกุหลาบอีก แต่เมื่อชัยเสนพามัทนาไปยังเมืองหัสตินาปุระของพระองค์ พระนางจัณฑีมเหสีของชัยเสนหึงหวงและแค้นใจมาก นางขอให้พระบิดาซึ่งเป็นพระราชาแคว้นมคธยกทัพมาตีหัสตินาปุระ จัณฑียังใช้ให้นางค่อมข้าหลวงทำกลอุบายว่า มัทนารักกับศุภางค์ทหารเอกของชัยเสน ชัยเสนหลงเชื่อจึงสั่งให้ประหารมัทนาและศุภางค์ แต่ต่อมาเมื่อชัยเสนรู้ว่ามัทนาและศุภางค์ไม่มีความผิดก็เสียใจมาก อำมาตย์เอกจึงทูลความจริงว่ายังมิได้สังหารนาง และศิษย์ของพระกาละทรรศินได้พานางกลับไปอยู่ในป่าหิมะวันแล้ว ส่วนศุภางค์ก็เป็นอิสระเช่นกัน และได้ออกต่อสู้กับข้าศึกจนตายอย่างทหารหาญ ชัยเสนจึงเดินทางไปรับนางมัทนา ขณะนั้นมัทนาทูลขอให้สุเทษณ์รับนางกลับไปสวรรค์ สุเทษณ์ขอให้นางรับรักตนก่อน แต่มัทนายังคงปฏิเสธ สุเทษณ์กริ้วจึงสาปให้มัทนาเป็นกุหลาบตลอดไป ชัยเสนมาถึงแต่ก็ไม่ทันการณ์ จึงได้แต่นำต้นกุหลาบกลับไปยังเมืองหัสตินาปุระ
          ตอนที่เลือกมาให้เรียนนี้อยู่ในองค์ที่ ๑  เมื่อมายาวินทำพิธีสะกดพามัทนามาพบสุเทษณ์ไปจนจบองก์เมื่อสุเทษณ์สาปมัทนา
          มัทนะพาธาเป็นเรื่องที่สมมุติว่าเป็นกำเนิดของต้นกุหลาบ มีการผูกเรื่องให้เกิดความขัดแย้งซึ่งเป็นปมปัญหาของเรื่อง กล่่าวคือ สุเทษณ์หลงรักมัทนา แต่มัทนาไม่รับรัก สุเทษณ์จึงกริ้ว มัทนาต้องลงมาเกิดในโลกมนุษย์เป็นการชดใช้โทษ เมื่อพบรักกับชัยเสน ความรักก็ไม่ราบรื่นเพราะมีอุปสรรคคือนางจันฑี มัทนาต้องถูกพรากไปจากชัยเสน และได้พบสุเทษณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่มัทนาก็ยังไม่เปลี่ยนใจจากชัยเสนมารักสุเทษณ์ เรื่องจึงจบด้วยความสูญเสีย สุเทษณ์ไม่สมหวังในความรัก ชัยเสนสูญเสียคนรัก และมัทนาต้องเปลี่ยนสภาพมาเป็นเพียงดอกกุหลาบ

คุณค่า/แง่คิด 

            มัทนะพาธาเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นหนังสือที่แต่งดี ใช้ฉันท์เป็นบทละครพูดซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก เป็นเรื่ิองที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกัน วัฒนธรรมภารตะโบราณและเข้ากับเนื้อเรื่องได้ดี  สอนให้รู้ถึงความเจ็บปวดที่เกิดจากความรัก รู้ถึงโทษของความรัก  

 



     


อ้างอิง  http://www.sahavicha.com
             http://www.thaigoodview.com

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาพวรรณคดีไทย เรื่อง ขุนช้างขุนแผน



  
ภาพเรื่่องขุนช้างขุนแผน


ตัวละครเอก ขุนช้าง นางพิม และขุนแผน

ขุนช้าง นางพิม และขุนแผนในวัยเด็กเป็นเพื่อนเล่นกัน
ขุนช้างมีความรักในตัวนางพิมอย่างมาก
ขุนช้างเข้าไปกราบทูลพระพันวษากล่าหาว่าขุนแผนหนีเวร
ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างพานางวันทองหนี
พลายงามอาสาพระหมื่นศรีไปรบ
พลายงามร่ายเวทกลายเป็นเสือโคร่งให้พระหมื่นศรีเห็นฝีมือ
พระหมื่นศรีพาพลายงามไปเฝ้าพระพันวษา
พลายงามเข้าเฝ้าพระพันวษาอาสาไปรบที่เชียงใหม่ และทูลขอขุนแผนไปด้วย
พระพันวษาให้นำตัวขุนแผนออกมาจากคุก


อ้างอิง
   http://rungfa.chs.ac.th/khunchangactor.htm

วรรณคดีไทยเรื่อง"ลิลิตพระลอ"





ลิลิตพระลอ

             ลิลิตพระลอเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิต เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจริงที่เล่ากันเรื่อยมา ของท้องถิ่นไทยภาคเหนือ สถานที่ในเรื่องคือแถวๆ จังหวัดแพร่และลำปาง เมืองสรองสันนิษฐานว่าคงจะอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ส่วนเมืองสรวงน่าจะอยู่ที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง นิยายเรื่องจริงเรื่องนี้น่าจะเกิดในช่วง พ.ศ. 1616-1693 จะแต่งในสมัยพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) หรือในสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ทราบแน่ชัด

              ผู้แต่ง : ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่คงจะเป็นกวีชั้นนักปราชญ์ ส่วนทำนองแต่ง แต่งเป็นลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ และโคลงสุภาพ อีกทั้งมีบางตอนก็เป็นร่ายดั้นและร่ายโบราณ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย
         
 คุณค่าของลิลิตพระลอ
            1. ด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ ยกตัวอย่างเช่น
“เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ”
บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็น แบบอย่าง

          2. ด้านพระศาสนา ให้แง่คิดทางศาสนา อย่างเช่น ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต อย่างบทที่ว่า
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรังตรึง แน่นอยู่นา
ตามแต่บุญบาปแล ก่อเกื้อรักษา

หรือบทที่ว่าด้วยกฏแห่งกรรม

ถึงกรรมจักอยู่ได้ ฉันใด พระเอย
กรรมบ่มีมีใคร ฆ่าเข้า
กุศลส่งสนองไป ถึงที่ สุขนา
บาปส่งจำตกช้า ช่วยได้ฉันใด

            3. ด้านการปกครอง จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้นต่างเมืองต่างก็เป็นอิส ระ เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่กัน

           4. ด้านประวัติศาสตร์ ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและ เมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่

           5. ด้านวิถีชีวิต ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื ่อในเรื่องไสย
ศาสตร์อยู่มากมีการนับถือผีสางนางไม้ แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่



           ปัจจุบันมีพระเจดีย์อยู่ในบริเวณวัดพระธาตุพระลอ ชาวบ้านเรียกว่า "พระธาตุหินล้ม" ตามตำนานพื้นเมืองกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.2300 ในบริเวณที่ตั้งของเมืองสรองโบราณ พระธาตุองค์นี้ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นอนุสรณ์แห่งความรั กอมตะและที่บรรจุอัฐิของพระลอแห่งนครแมนสรวง และพระเพื่อน พระแพง ธิดาเมืองสรอง อันเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีเรื่อง "ลิลิตพระลอ"

เรื่อง

            ณ อาณาจักรแพร่ ท้าวแมนสรวงเจ้าเมืองสรวงยกทัพไปรบกับท้าวพิมพิสาครร าชเจ้าเมืองสรอง ทั้งสองพระองค์ทำการยุทธหัตถี ท้าวแมนสรวงใช้ง้าวฟันท้าวพิมพิสาครราชสิ้นพระชนม์คา คอช้างแต่ตีเอาเมืองสรองไม่ได้จึงยกทัพกลับ เหตุการณ์นี้สร้างรอยแค้นให้กับมเหสีเจ้าเมืองสรองเป ็นยิ่งนัก
ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้ทั้งสองเมืองกลายเป็นคู่อริ ต่อกัน มเหสีเจ้าเมืองสรอง (เจ้าย่า) ทรงมีหลานรักสองพระองค์ คือ พระเพื่อนกับพระแพง สองพี่น้องผู้เลอโฉม ทั้งคู่เป็นพระธิดาของท้าวพิไชยพิษณุกรซึ่งปกครองเมื องสรองสืบต่อจากท้าวพิมพิสาครราช
           ต่อมาท้าวแมนสรวงสิ้นพระชนม์ โอรสพระนามว่า “พระลอดิลกราช” หรือเรียกกันสั้นๆว่า “พระลอ” ได้ขึ้นครองเมืองสรวงสืบต่อ พระลอเป็นชายหนุ่มรูปงาม หล่อเหลามากถึงขนาดได้รับการขับขานแต่งเป็นบทเพลงสรร เสริญกระจายไปทั่วทุกสารทิศจนไปเข้าหูพระเพื่อนพระแพ ง ทั้งสองพระองค์ได้ยินคำเล่าลือจนหนาหูมากขึ้น ทำให้สองพี่น้องใคร่อยากจะเห็นพระลอที่เขาเลื่องลือน ั้นเป็นจริงหรือไม่ นางรื่นและนางโรย สองพี่เลี้ยงรับอาสาช่วยจัดการให้โดยไปขอความช่วยเหล ือจากปู่เจ้าสมิงพราย ผู้มีเวทมนตร์คาถาอาคมโดยการส่งคนไปขับซอบทเพลงสรรเส ริญความงามของพระเพื่อนพระแพง


พระเพื่อน พระแพง


            ต่อมาพระลอทูลลาพระมารดากับพระมเหสีโดยอ้างว่าจะเสด็ จประพาสป่า เสด็จพร้อมกันกับนายแก้วกับนายขวัญ สองพี่เลี้ยงและไพร่พลจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเดินทางสู่เมืองสรองโดยลัดเลาะเข้าป่าเพื่อหลีกเลี่ยงทหารเมืองสรวง จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำสายหนึ่งชื่อ “แม่น้ำกาหลง” พระลอคุกเข่าตั้งจิตอธิฐานเสี่ยงน้ำเพื่อให้สิ่งศักด ิ์สิทธิ์ช่วยทำนายดวงชะตาของพระองค์ ทันทีที่สิ้นคำอธิษฐาน แม่น้ำแปรสภาพเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ายสีเลือดและไหลเวี ยนวนผิดปกติ พระลอทรงทราบได้เลยว่าเป็นลางร้ายที่จะรอพระองค์อยู่ เบื้องหน้าแต่พระองค์ไม่สนพระทัยเพราะประสงค์ต้องพบพ ระเพื่อนพระแพงให้จงได้



พระลอคร่ำครวญที่จะไปพบพระเพื่อนพระแพง

ฝ่ายพระเพื่อนพระแพงเกิดความกระวนกระวายพระทัย ด้วยเกรงว่ามนต์เสน่ห์ของปู่เจ้าสมิงพรายจะไม่เป็นผล ทรงขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยเสกไก่งามตัวหนึ่งที่มีเ สียงไพเราะจับใจ ทั้งสองพระองค์เชื่อว่าไก่เสกนี้จะต้องทำให้พระลอเกิ ดสนพระทัยและติดตามมาจนถึงสวนขวัญ อุทยานหลวงได้อย่างแน่นอน
และในที่สุดก็เป็นไปตามคาด พระลอตามไก่แก้วที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมา พระลอ พระเพื่อนและพระแพงจึงได้พบกันและเกิดความรักในทันที
ขณะเดียวกันกับนายแก้วนายขวัญก็ตกหลุมรักกับนางรื่นน างโรย ทั้งสามพระองค์มีความสุขอยู่นานพอควร ในที่สุดความก็แตกเมื่อ ท้าวพิไชยพิษณุกรทรงทราบข่าว จึงสั่งทหารจับกุมตัวพระลอที่พระตำหนักของพระเพื่อนพ ระแพง พระลอจึงต้องเล่าความจริงแก่ท้าว พิไชยพิษณุกรได้ทรงทราบทุกประการ ท้าวพิไชยพิษณุกรทรงกริ้วแต่ทว่าความรักของทั้งสามพร ะองค์ลงเอยมาถึงขั้นนี้แล้ว จำต้องจัดพิธีอภิเษกสมรสให้ทั้งสามพระองค์ทันที


พระลอตามไก่
ฝ่ายเจ้าย่าไหนเลยจะยินยอม ด้วยความเจ็บแค้นฝังรากลึกที่ต้องสูญเสียพระสวามีในค ราวสงครามยุทธหัตถีครั้งนั้น เจ้าย่าถืออ้างคำสั่งท้าวพิไชยพิษณุกรโดยพลการสั่งทห ารบุกเข้ามาล้อมสวนขวัญ พระลอต้องต้อสู้กับเหล่าทหาร พระเพื่อนพระแพงเห็นดังนั้นจึงเข้าช่วยอีกแรง เจ้าย่าจ้องมองดูตลอดเห็นว่าพระเพื่อนพระแพงหลานรักข องพระองค์ช่วยพระลอสู้กับทหาร ก็เกรงว่าหลานทั้งสองจะพลาดพลั้งได้รับบาดเจ็บ ทรงสั่งพลธนูยิงไปที่พระลออย่าให้โดนหลานรักทั้งสอง ทหารรับคำสั่งระดมยิงธนูเป็นชุดๆ พุ่งเข้าใส่พระลอ แต่ทว่าพระเพื่อนพระแพงรีบเอาตัวปกป้อง ลูกธนูนับสิบนับร้อยดอกพุ่งเสียบปักร่างทั้งสามพระองค์ยืนอ้อมกอดแก่กันสิ้นพระชนม์ ท้าวพิไชยพิษณุกรทราบเรื่องทรงเสียพระทัยเป็นอันมากจึงสั่งให้ประหารเจ้าย่าเสีย แล้วส่งสาส์นไปยังเมืองสรวงได้รับทราบ ทั้งสองเมืองจัดการทำพิธีพระศพของ
พระลอ พระเพื่อน พระแพง จากนั้นจึงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก

หลังจากนั้นเมืองสรวงกับเมืองสรองก็คืนสู่ความเป็นมิตรไมตรีกันสืบมา



รูปพระเพื่อนพระแพง




                  

อ้างอิง
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=75505

วรรณคดีไทยเรื่อง"อิเหนา"


                                                                                


          อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง)

           เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “อิเหนา ปันหยี กรัต ปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง



เนื้อเรื่อง "อิเหนา" แบบย่อ


          เริ่มเรื่องกล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวา ๔ องค์ มีนามตามชื่อกรุงที่ครองราชย์ คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี ยังมีนครหมันหยาซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติกันกับนครเหล่านี้ โดยท้าวกุเรปันได้นางนิหลาอระตาแห่งหมันหยาเป็นชายา ส่วนท้าวดาหาได้นางดาหราวาตีเป็นชายาเช่นกัน กษัตริย์แห่งวงศ์เทวามีมเหสี ๕ องค์เรียงลำดับตามตำแหน่งดังนี้ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ต่อมาท้าวกุเรปันได้โอรสกับมเหสีเอก ซึ่งโอรสองค์นี้มีวาสนาสูง องค์ปะตาระกาหลา ซึ่งเป็นต้นวงศ์เทวาอยู่บนสวรรค์ได้นำกริชวิเศษลงมาให้ พร้อมจารึกชื่อไว้บนกริชว่า "หยังหยังหนึ่งหรัดอินดรา อุดากันสาหรีปาตี อิเหนาเองหยังตาหลา" แต่เรียกสั้นๆว่า อิเหนา ท้าวหมันหยาได้ธิดากับมเหสีเอกชื่อ จินตะหราวาตี และท้าวดาหาได้ธิดากับมเหสีเอกของตนเช่นเดียวกันชื่อว่า บุษบา ท้าวกุเรปันได้ขอตุนาหงัน (หมั้นไว้) บุษบาให้แก่อิเหนา เพื่อเป็นการสืบราชประเพณี "...ตามจารีตโบราณสืบมา หวังมิให้วงศาอื่นปน..." ส่วนอิเหนาเติบโตเป็นเจ้าชายรูปงาม ชำนาญการใช้กริช ครั้นเมื่อพระอัยกีเมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาได้ไปในงานปลงพระศพแทนพระบิดาและพระมารดาซึ่งทรงครรภ์แก่ ได้ไปพบนางจินตะหราก็หลงรัก และได้นางเป็นชายา โดยไม่ฟังคำทัดทานจากท้าวกุเรปัน และได้บอกเลิกตุหนาหงันนางบุษบาเสียเฉยๆ ทำให้ท้าวดาหาขัดเคืองพระทัยมาก ดังนั้นพอจรกาซึ่ง "รูปชั่วตัวดำ" มาขอตุนาหงัน ท้าวดาหาก็ยอมรับเพราะแค้นอิเหนา

          ท้าวดาหาแจ้งข่าวให้ท้าวกุเรปันและจรกายกทัพมาช่วย ท้าวกุเรปันโปรดให้อิเหนาเป็นแม่ทัพยกไปช่วย อิเหนาจึงจำใจต้องจากนางจินตะหรายกทัพไปช่วยท้าวดาหารบจนได้ชัยชนะ และฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงและวิหยาสะกำตาย หลังจากเสร็จศึกแล้ว อิเหนาได้เข้าเฝ้าได้ท้าวดาหา และเมื่อได้พบนางบุษบาเป็นครั้งแรก อิเหนาถึงกับตะลึงหลงนางบุษบา
ฝ่ายองค์อสัญแดหวา (ปะตาระกาหลา) เทวดาผู้ทรงเป็นต้นวงศ์เทวาไม่พอพระทัย อิเหนา เห็นว่าต้องดัดสันดานให้สำนึกตัว จึงบันดาลให้วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิงเก็บรูปนางบุษบาได้ เกิดคลั่งไคล้รบเร้าให้พระบิดาไปขอ ท้าวดาหาก็ให้ไม่ได้ ท้าวกะหมังกุหนิงก็รักลูกมาก จึงยกทัพไปรบเพื่อแย่งชิงนางบุษบา



ต่อมา มะเดหวีซึ่งคงจะวุ่นพระทัยว่าบุษบาจะลงเอยประการใด จึงชวนบุษบากับนางกำนัลไปทำพิธีเสี่ยงเทียนยังวิหาร ใกล้ๆวิหารนั้นพวกอิเหนากำลังตั้งวงเตะตะกร้อ ครั้นพวกสาวใช้มะเดหวีขึ้นมาไล่ ก็พากันวิ่งหนีกระจายไป แต่อิเหนา สังคามาระตาและประสันตาวิ่งเข้าไปแอบอยู่หลังพระปฏิมาในวิหาร วิธีเสี่ยงทายนั้น ใช้เทียนสามเล่ม เล่มหนึ่งเป็นบุษบา ปักตรงหน้านาง อีกเล่มเป็นอิเหนาปักข้างขวา และข้างซ้ายเป็นจรกา แล้วมะเดหวีสอนให้บุษบากล่าวอธิษฐานว่า "...แม้น...จะได้ข้างไหนแน่ ให้ประจักษ์แท้จงหนักหนา แม้นจะได้ข้างระตูจรกา ให้เทียนพี่ยานั้นดับไป..." บุษบาแม้จะอายใจเต็มทีก็จำต้องทำตามมะเดหวี แล้วก็มีเสียงจากปฏิมาว่า "...อันนางบุษบานงเยาว์ จะได้แก่อิเหนาเป็นแม่นมั่น จรกาใช่วงศ์เทวัญ แม้นได้ครองกันจะอันตราย" มะเดหวีได้ยินดังนั้น ก็ตื่นเต้นดี พระทัย แต่ไม่ช้าเรื่องก็แตก เพราะอิเหนาต้อนค้างคาวจนเทียนดับ แล้วใช้ความมืดเข้ามากอดบุษบา แล้วก็ไม่ยอมปล่อย จนพี่เลี้ยงไปเอาคบเพลิงมา ก็เห็นอิเหนากอดบุษบาไว้แน่น มะเดหวีจะกริ้วโกรธอย่างไร ก็เห็นว่าเสียทีอิเหนาเสียแล้ว จึงยอมสัญญาว่าจะหาทางให้อิเหนาได้กับบุษบา อิเหนาจึงยอมปล่อย ครั้นไม่เห็นทางได้บุษบาแต่โดยดี อิเหนาก็คิดอุบายที่ร้ายแรงที่สุด คือเผาโรงมโหรสพในพิธีแต่งงานของบุษบาและจรกาในเมืองดาหา แล้วลักนางไปไว้ ในถ้ำทอง ซึ่งเตรียมไว้ก่อนแล้ว



แล้วแปลงกายนางบุษบาให้เป็นชายชื่อว่า อุณากรรณ ประทานกริชวิเศษให้ และบอกให้เดินทางเข้าสู่เมืองประมอตัน ต่อจากนี้ก็ถึงบทมะงุมมะงาหรา (ท่องเที่ยวหา) อิเหนาเป็นฝ่ายตามหา บุษบาเป็นฝ่ายหนีเดินทางไปตามเมืองต่างๆ ปราบเมืองนั้นๆ ไว้ในอำนาจ มีเหตุการณ์สนุกตื่นเต้นสลับซับซ้อน เช่น ธิดาเจ้าเมืองต่างๆ เข้าใจว่าอุณากรรณเป็นผู้ชายก็หลงรักตอนมะงุมมะงา หราเป็นเรื่องราวสักครึ่งหนึ่งของเรื่องทั้งหมด
องค์ปะตาระกาหลากริ้วอิเหนามาก จึงบันดาลให้เกิดพายุใหญ่หอบรถนางบุษบาและพี่เลี้ยงไปตกที่ชายเมืองประมอตัน

เมื่อสิ้นเวรสิ้นกรรมแล้ว กษัตริย์วงศ์เทวาทั้งหมดก็ได้พบกัน อิเหนาได้ปรับความเข้าใจกับนางจินตะหราและได้ครองเมืองกุเรปันอย่างมีความสุขสืบ ไป






อ้างอิง
http://board.postjung.com/505429.html