คุณชอบเว็บนี้มากเเค่ไหน

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วรรณคดีไทยเรื่อง"ลิลิตพระลอ"





ลิลิตพระลอ

             ลิลิตพระลอเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิต เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจริงที่เล่ากันเรื่อยมา ของท้องถิ่นไทยภาคเหนือ สถานที่ในเรื่องคือแถวๆ จังหวัดแพร่และลำปาง เมืองสรองสันนิษฐานว่าคงจะอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ส่วนเมืองสรวงน่าจะอยู่ที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง นิยายเรื่องจริงเรื่องนี้น่าจะเกิดในช่วง พ.ศ. 1616-1693 จะแต่งในสมัยพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) หรือในสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ทราบแน่ชัด

              ผู้แต่ง : ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่คงจะเป็นกวีชั้นนักปราชญ์ ส่วนทำนองแต่ง แต่งเป็นลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ และโคลงสุภาพ อีกทั้งมีบางตอนก็เป็นร่ายดั้นและร่ายโบราณ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย
         
 คุณค่าของลิลิตพระลอ
            1. ด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ ยกตัวอย่างเช่น
“เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ”
บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็น แบบอย่าง

          2. ด้านพระศาสนา ให้แง่คิดทางศาสนา อย่างเช่น ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต อย่างบทที่ว่า
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรังตรึง แน่นอยู่นา
ตามแต่บุญบาปแล ก่อเกื้อรักษา

หรือบทที่ว่าด้วยกฏแห่งกรรม

ถึงกรรมจักอยู่ได้ ฉันใด พระเอย
กรรมบ่มีมีใคร ฆ่าเข้า
กุศลส่งสนองไป ถึงที่ สุขนา
บาปส่งจำตกช้า ช่วยได้ฉันใด

            3. ด้านการปกครอง จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้นต่างเมืองต่างก็เป็นอิส ระ เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่กัน

           4. ด้านประวัติศาสตร์ ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและ เมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่

           5. ด้านวิถีชีวิต ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื ่อในเรื่องไสย
ศาสตร์อยู่มากมีการนับถือผีสางนางไม้ แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่



           ปัจจุบันมีพระเจดีย์อยู่ในบริเวณวัดพระธาตุพระลอ ชาวบ้านเรียกว่า "พระธาตุหินล้ม" ตามตำนานพื้นเมืองกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.2300 ในบริเวณที่ตั้งของเมืองสรองโบราณ พระธาตุองค์นี้ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นอนุสรณ์แห่งความรั กอมตะและที่บรรจุอัฐิของพระลอแห่งนครแมนสรวง และพระเพื่อน พระแพง ธิดาเมืองสรอง อันเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีเรื่อง "ลิลิตพระลอ"

เรื่อง

            ณ อาณาจักรแพร่ ท้าวแมนสรวงเจ้าเมืองสรวงยกทัพไปรบกับท้าวพิมพิสาครร าชเจ้าเมืองสรอง ทั้งสองพระองค์ทำการยุทธหัตถี ท้าวแมนสรวงใช้ง้าวฟันท้าวพิมพิสาครราชสิ้นพระชนม์คา คอช้างแต่ตีเอาเมืองสรองไม่ได้จึงยกทัพกลับ เหตุการณ์นี้สร้างรอยแค้นให้กับมเหสีเจ้าเมืองสรองเป ็นยิ่งนัก
ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้ทั้งสองเมืองกลายเป็นคู่อริ ต่อกัน มเหสีเจ้าเมืองสรอง (เจ้าย่า) ทรงมีหลานรักสองพระองค์ คือ พระเพื่อนกับพระแพง สองพี่น้องผู้เลอโฉม ทั้งคู่เป็นพระธิดาของท้าวพิไชยพิษณุกรซึ่งปกครองเมื องสรองสืบต่อจากท้าวพิมพิสาครราช
           ต่อมาท้าวแมนสรวงสิ้นพระชนม์ โอรสพระนามว่า “พระลอดิลกราช” หรือเรียกกันสั้นๆว่า “พระลอ” ได้ขึ้นครองเมืองสรวงสืบต่อ พระลอเป็นชายหนุ่มรูปงาม หล่อเหลามากถึงขนาดได้รับการขับขานแต่งเป็นบทเพลงสรร เสริญกระจายไปทั่วทุกสารทิศจนไปเข้าหูพระเพื่อนพระแพ ง ทั้งสองพระองค์ได้ยินคำเล่าลือจนหนาหูมากขึ้น ทำให้สองพี่น้องใคร่อยากจะเห็นพระลอที่เขาเลื่องลือน ั้นเป็นจริงหรือไม่ นางรื่นและนางโรย สองพี่เลี้ยงรับอาสาช่วยจัดการให้โดยไปขอความช่วยเหล ือจากปู่เจ้าสมิงพราย ผู้มีเวทมนตร์คาถาอาคมโดยการส่งคนไปขับซอบทเพลงสรรเส ริญความงามของพระเพื่อนพระแพง


พระเพื่อน พระแพง


            ต่อมาพระลอทูลลาพระมารดากับพระมเหสีโดยอ้างว่าจะเสด็ จประพาสป่า เสด็จพร้อมกันกับนายแก้วกับนายขวัญ สองพี่เลี้ยงและไพร่พลจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเดินทางสู่เมืองสรองโดยลัดเลาะเข้าป่าเพื่อหลีกเลี่ยงทหารเมืองสรวง จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำสายหนึ่งชื่อ “แม่น้ำกาหลง” พระลอคุกเข่าตั้งจิตอธิฐานเสี่ยงน้ำเพื่อให้สิ่งศักด ิ์สิทธิ์ช่วยทำนายดวงชะตาของพระองค์ ทันทีที่สิ้นคำอธิษฐาน แม่น้ำแปรสภาพเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ายสีเลือดและไหลเวี ยนวนผิดปกติ พระลอทรงทราบได้เลยว่าเป็นลางร้ายที่จะรอพระองค์อยู่ เบื้องหน้าแต่พระองค์ไม่สนพระทัยเพราะประสงค์ต้องพบพ ระเพื่อนพระแพงให้จงได้



พระลอคร่ำครวญที่จะไปพบพระเพื่อนพระแพง

ฝ่ายพระเพื่อนพระแพงเกิดความกระวนกระวายพระทัย ด้วยเกรงว่ามนต์เสน่ห์ของปู่เจ้าสมิงพรายจะไม่เป็นผล ทรงขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยเสกไก่งามตัวหนึ่งที่มีเ สียงไพเราะจับใจ ทั้งสองพระองค์เชื่อว่าไก่เสกนี้จะต้องทำให้พระลอเกิ ดสนพระทัยและติดตามมาจนถึงสวนขวัญ อุทยานหลวงได้อย่างแน่นอน
และในที่สุดก็เป็นไปตามคาด พระลอตามไก่แก้วที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมา พระลอ พระเพื่อนและพระแพงจึงได้พบกันและเกิดความรักในทันที
ขณะเดียวกันกับนายแก้วนายขวัญก็ตกหลุมรักกับนางรื่นน างโรย ทั้งสามพระองค์มีความสุขอยู่นานพอควร ในที่สุดความก็แตกเมื่อ ท้าวพิไชยพิษณุกรทรงทราบข่าว จึงสั่งทหารจับกุมตัวพระลอที่พระตำหนักของพระเพื่อนพ ระแพง พระลอจึงต้องเล่าความจริงแก่ท้าว พิไชยพิษณุกรได้ทรงทราบทุกประการ ท้าวพิไชยพิษณุกรทรงกริ้วแต่ทว่าความรักของทั้งสามพร ะองค์ลงเอยมาถึงขั้นนี้แล้ว จำต้องจัดพิธีอภิเษกสมรสให้ทั้งสามพระองค์ทันที


พระลอตามไก่
ฝ่ายเจ้าย่าไหนเลยจะยินยอม ด้วยความเจ็บแค้นฝังรากลึกที่ต้องสูญเสียพระสวามีในค ราวสงครามยุทธหัตถีครั้งนั้น เจ้าย่าถืออ้างคำสั่งท้าวพิไชยพิษณุกรโดยพลการสั่งทห ารบุกเข้ามาล้อมสวนขวัญ พระลอต้องต้อสู้กับเหล่าทหาร พระเพื่อนพระแพงเห็นดังนั้นจึงเข้าช่วยอีกแรง เจ้าย่าจ้องมองดูตลอดเห็นว่าพระเพื่อนพระแพงหลานรักข องพระองค์ช่วยพระลอสู้กับทหาร ก็เกรงว่าหลานทั้งสองจะพลาดพลั้งได้รับบาดเจ็บ ทรงสั่งพลธนูยิงไปที่พระลออย่าให้โดนหลานรักทั้งสอง ทหารรับคำสั่งระดมยิงธนูเป็นชุดๆ พุ่งเข้าใส่พระลอ แต่ทว่าพระเพื่อนพระแพงรีบเอาตัวปกป้อง ลูกธนูนับสิบนับร้อยดอกพุ่งเสียบปักร่างทั้งสามพระองค์ยืนอ้อมกอดแก่กันสิ้นพระชนม์ ท้าวพิไชยพิษณุกรทราบเรื่องทรงเสียพระทัยเป็นอันมากจึงสั่งให้ประหารเจ้าย่าเสีย แล้วส่งสาส์นไปยังเมืองสรวงได้รับทราบ ทั้งสองเมืองจัดการทำพิธีพระศพของ
พระลอ พระเพื่อน พระแพง จากนั้นจึงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก

หลังจากนั้นเมืองสรวงกับเมืองสรองก็คืนสู่ความเป็นมิตรไมตรีกันสืบมา



รูปพระเพื่อนพระแพง




                  

อ้างอิง
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=75505

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น